Welcome

ยินดีต้อนรับทุกคนเข้าสู่บล็อคนะคะ^-^

วันพฤหัสบดีที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2554

ความจริงเกี่ยวกับขนมปังโฮลวีท

ความจริงเกี่ยวกับขนมปังโฮลวีท
 
           เราทราบกันดีแล้วว่า ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีอุดมด้วยไฟเบอร์, วิตามิน, เกลือแร่ และสารแอนติออกซิแดนท์ต่าง ๆ ที่ช่วยต่อต้านโรคภัย แล้วยังช่วยให้เรารู้สึกอิ่มด้วย
          จากการสำรวจเมื่อเร็ว ๆ นี้ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of the American Dietetic Association ระบุว่า สิ่งที่เราไม่รู้ก็คือ เราจะหาซื้อผลิตภัณฑ์ที่มาจากธัญพืชทั้งเมล็ดนี้ได้อย่างไร บางทีอาจเป็นเพราะคำที่ใช้อย่างเช่น มัลติเกรน หรือ วีท (ข้าวสาลี) ทำให้เราสับสน วิธีเดียวที่เราจะทราบได้ก็คือ ต้องอ่านส่วนประกอบบนฉลากของผลิตภัณฑ์นั้น ๆ เองเลย
          วิคกี้ โคนิค โภชาการจดทะเบียนกล่าวว่า "ชนิดที่มีธัญพืชที่ไม่ขัดสีทั้งร้อยเปอร์เซ็นต์ ถือว่าดีที่สุด" ตัวอย่างเช่น เมื่อจะซื้อขนมปัง ส่วนผสมอย่างแรกควรเป็นแป้งโฮลวีท หากคุณพบคำว่า "แป้งข้าวสี" (wheat flour) หรือ "แป้งสาลีไม่ฟอกสีเติมสารอาหาร" (unbleached enriched wheat flour) แปลว่าขนมปังนั้นทำมาจากธัญพืชที่ผ่านการขัดสีและผ่านกระบวนการ ซึ่งเป็นการนำเอาสารอาหารที่มีประโยชน์ออกไปแล้ว นอกจากนี้คุณยังอาจตรวจสอบปริมาณไฟเบอร์ในนั้นได้ โดยผลิตภัณฑ์จากธัญพืชไม่ผ่านการขัดสีมักมีไฟเบอร์อย่างน้อย 2.5 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค (serving)
          จากข้อมูลของกระทรวงเกษตรสหรัฐฯ ระบุว่า ในแต่ละวันคุณควรบริโภคธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ในขนาดหน่วยบริโภคหนึ่งออนซ์ (เช่น ขนมปังโฮลวีทหนึ่งแผ่น, ซีเรียลหนึ่งถ้วย, ข้าวกล้องหุงแล้วครึ่งถ้วย, หรือพาสต้าแบบโฮลเกรนครึ่งถ้วย) วันละสามครั้ง จึงจะดีต่อสุขภาพอีกด้วย
 
ที่มา http://health.kapook.com/view20898.html

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

14 วิธีขับถ่ายปัสสาวะ เพื่อสุขภาพที่ดี

14 วิธีขับถ่ายปัสสาวะ เพื่อสุขภาพที่ดี
     1. อย่ากลั้นปัสสาวะ เมื่อรู้สึกปวดต้องไปปัสสาวะ 
       2. เวลาปัสสาวะไม่ควรรีบร้อนเบ่งมาก เพราะอาจทำให้หูรูดปัสสาวะชำรุดได้ 
     3. ควรถ่ายปัสสาวะให้เหลือน้อยที่สุดในหนึ่งครั้ง นั่นคือเมื่อรู้สึกถ่ายหมดแล้วให้เบ่งต่ออีกนิดหน่อย ปัสสาวะที่เหลือจะไหลออกมา 
     4. ไม่ควรบังคับให้ตนเองถ่ายปัสสาวะบ่อย เพราะจะติดเป็นนิสัย เวลาที่เหมาะสมคือ 2-4 ชั่วโมงควรถ่ายปัสสาวะหนึ่งครั้ง
     5. ให้สังเกตการถ่ายปัสสาวะ และน้ำปัสสาวะของตนเองทุกครั้งว่า ต้องเบ่งมากผิดปกติหรือไม่ น้ำปัสสาวะลำพุ่งดีหรือไม่ ลำน้ำปัสสาวะมีขนาดเล็กลงกว่าเดิมหรือไม่ น้ำปัสสาวะมีสีเหลืองใสหรือไม่ เพราะสิ่งเหล่านี้อาจเป็นอาการผิดปกติที่สามารถบอกโรคได้ 
      6. อาจจะล้างทำความสะอาดหลังปัสสาวะ แต่อย่าให้บริเวณนั้นเปียกชื้น เพราะอาจเกิดเชื้อราได้ ทางที่ดีหลังปัสสาวะทุกครั้ง ควรซับให้แห้ง 
      7. เมื่อปัสสาวะไม่ออก ต้องหาสาเหตุโดยการไปพบแพทย์ อย่าซื้อยาขับปัสสาวะรับประทานเพราะจะเกิดอันตรายได้ 
      8. เมื่อเข้าสู่วัยกลางคน การบริหารอุ้งเชิงกรานโดยการขมิบ (ฝ่ายหญิงขมิบช่องคลอด ฝ่ายชายขมิบทวารหนัก) วันละ 100 ครั้ง จะช่วยป้องกันอาการปัสสาวะเล็ด 
      9. ดื่มน้ำสะอาด อย่างน้อยวันละ 10 แก้ว หรือหนึ่งลิตร จะช่วยให้น้ำปัสสาวะใส มีจำนวนพอดีและป้องกันภาวะปัสสาวะอักเสบ 
     10. ก่อนมีเพศสัมพันธ์ และหลังมีเพศสัมพันธ์ คุณผู้หญิงควรถ่ายปัสสาวะทิ้ง จะช่วยป้องกันการเกิดกระเพาะปัสสาวะอักเสบ 
      11. น้ำปัสสาวะจะต้องเป็นน้ำเท่านั้น ถ้ามีมูก หนอง น้ำเหลือง เลือดปนออกมา ถือว่าผิดปกติต้องไปพบแพทย์ 
     12. การขับถ่ายปัสสาวะ ต้องขับถ่ายคล่องไม่มีอาการเจ็บปวด ถ้าปัสสาวะแสบขัดลำบากนับว่าเป็นอาการผิดปกติ ต้องไปพบแพทย์อีกเช่นกัน 
     13. คนเราทุกคนต้องปัสสาวะทุกวัน วันละ 4-6 ครั้ง ถ้าไม่ปัสสาวะเลย 1 วัน ถือว่าตกอยู่ในภาวะอันตราย ต้องไปพบแพทย์โดยด่วน
     14. ก่อนเดินทางไกล ก่อนยกของหนัก ควรปัสสาวะทิ้งก่อนทุกครั้ง
ที่มา http://www.eldercarethailand.com/content/view/331/35/

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2554

กินอาหารเพิ่มรอยยิ้ม

กินอาหารเพิ่มรอยยิ้ม (ไทยโพสต์)
     ว่ากันว่าการกินอาหารให้ถูกลักษณะจะช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง แต่วันนี้เรามีข้อมูลเพิ่มเติมว่า หากอยากยิ้มสร้างสุขล่ะก็ การเลือกกินอาหารบางอย่างช่วยให้หายเศร้าหายเซ็งได้ นั่นก็คือ
โฟเลต


          กินอาหารที่อุดมด้วยโฟเลตอย่างบร็อกโคลี หน่อไม้ฝรั่ง เมล็ดทานตะวัน ส้ม แตงโม เนื้อวัว และข้าวกล้อง ช่วยให้อารมณ์ดีได้เพราะโฟเลต หรือกรดโฟลิก เป็นวิตามินที่ละลายน้ำได้ จำเป็นต่อการแบ่งตัวของเซลล์ การสังเคราะห์ดีเอ็นเอ การผลิตเม็ดเลือดแดง งานวิจัยของคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยยอร์ก พบว่า คนที่ซึมเศร้ามีโฟเลตต่ำ ปริมาณที่แนะนำต่อวันสำหรับหญิงและชาย คือ 400 ไมโครกรัม ถ้าเป็นหญิงท้องต้องเพิ่มเป็น 600 ไมโครกรัม ใยอาหารและโปรตีนจะช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดและช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น โฟเลตยังช่วยลดกรดอะมิโน โฮโมซิสทีน ซึ่งทำให้เป็นโรคหัวใจด้วย ถ้าได้รับโฟเลตน้อยจะเป็นโรคโลหิตจาง หญิงมีครรภ์ควรได้รับโฟเลตให้มากขึ้นเพื่อช่วยให้ทารกเสริมสร้างใยประสาท
อาหารที่มีวิตามินบี 6
          ได้แก่ กล้วย อกไก่ กระเทียม เมล็ดทานตะวัน บร็อกโคลี แตงโม อะโวคาโด และมะเขือเทศ ก็เป็นอีกประเภทที่ไม่ควรพลาด เพราะวิตามินบี 6 ส่งผลต่อการเผาผลาญของเซลล์เม็ดเลือดแดง การเผาผลาญของโปรตีน และการสังเคราะห์ของสารสื่อประสาท เซโรโทนินและโดพามีน และยังช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มออกซิเจนที่ถูกส่งไปยังเนื้อเยื่อ ถ้ามีวิตามินบี 6 น้อยจะทำให้มีกรดโฮโมซิสทีนสูง เลือดจาง ปวดหัว และซึมเศร้า คราวหน้าถ้ารู้สึกแย่ ขอให้กินกล้วยแล้วความเศร้าก็จะหายไป
ปลา
           เป็นอาหารทีมี โอเมก้า-3 ไม่ว่าจะเป็นปลาแซลมอน ซาร์ดีน แม็กเคอเรล แอนโชวี เฮอริง สาหร่าย วอลนัต และเมล็ดป่าน ก็ช่วยให้เรายิ้มได้เพราะกรดไขมันดีเอชเอ โอเมก้า-3 ช่วยบำรุงสมอง ช่วยพัฒนาสมองและสายตาของเด็กในครรภ์ 
     รายงานในวารสาร Journal of Clinical Psychiatry พบว่า อาการซึมเศร้าของคนไข้จะดีขึ้นมากเมื่อได้รับแคปซูลไขมันปลาวันละ 3 ครั้งเป็นเวลา 8 สัปดาห์ ถ้าไม่ได้กินปลาเป็นประจำก็ควรกินแคปซูลไขมันปลา ส่วน โอเมก้า-3 ในพืชนั้นพบได้ในเมล็ดป่าน วอลนัต และสาหร่าย ใครอยากอารมณ์ดีให้โรยเมล็ดทานตะวันหรือวอลนัตลงในโยเกิร์ตไขมันต่ำชนิดไม่เติมความหวาน
อาหารจำพวกแป้งทั้งธัญพืชเต็มเมล็ด ผัก ผลไม้
           ของกินพวกนี้ช่วยให้พลังงาน ใยอาหาร และสารอาหารหลายชนิดที่ร่างกายต้องการ คาร์โบไฮเดรตเหล่านี้กระตุ้นการสังเคราะห์เซโรโทนิน ซึ่งเป็น "ฮอร์โมนความสุข" ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ส่งผลดีต่ออารมณ์และการนอนหลับ ครั้งหน้าถ้าเครียดจงกินเมล็ดธัญพืชที่ผ่านการขัดสีน้อย กินขนมปังกรอบทาด้วยเนยถั่วจะช่วยให้อารมณ์ดีขึ้น
     ที่มา  http://health.kapook.com/view26148.html

กี่แคลอรีจึงจะพอ

กี่แคลอรีจึงจะพอ
        เมื่อเห็นฉลากอาหารบอกว่าทั้งกล่องให้ 400 แคลอรี คุณคิดว่ามากหรือน้อย กินแล้วจะอ้วนไหม ฉลากที่กล่องหรือกระป๋องหรือซองบรรจุอาหาร จะบอกข้อมูลทางโภชนาการให้ผู้บริโภคพิจารณาดูว่าจะซื้อหรือไม่ซื้อ ซื้อมาแล้วจะกินได้มากน้อยเพียงไร สิ่งที่อาหารทุกชิ้นให้ข้อมูล คือพลังงาน 
แคลอรี่เป็นหน่วยวัดพลังงาน หนึ่งแคลอรี่คือปริมาณความร้อน ที่ทำให้น้ำหนึ่งกรัมร้อนหนึ่งองศาเซลเซียส สำหรับพลังงานที่ใช้ในร่างกาย และพลังงานที่ได้รับจากอาหารเป็นแคลอรีใหญ่ หรือกิโลแคลอรี หนึ่งกิโลแคลอรี คือความร้อนที่ทำให้น้ำหนึ่งกิโลกรัมร้อนขึ้นหนึ่งองศาเซลเซียส


ร่างกายของเราต้องการพลังงาน เพื่อให้อวัยวะภายในทำงาน แม้จะนอนนิ่งอยู่เฉยๆก็ต้องใช้พลังงาน หัวใจจึงจะเต้น มีการหายใจและการทำงานของเซลล์ต่างๆ เมื่อนอนนิ่งๆ ไม่มีการย่อยอาหาร จิตใจสงบ ไม่กระวนกระวาย ร่างกายต้องการพลังงานวันละ 25 กิโลแคลอรี ต่อน้ำหนักตัวหนึ่งกิโลกรัม คนทั่วไปที่น้ำหนักตัวประมาณ 50 กิโลกรัม จะต้องการพลังงานขั้นต่ำสุดนี้ ประมาณวันละ 1,250 กิโลแคลอรี ส่วนมากเราจะต้องกินอาหาร ทำกิจกรรมต่างๆ มีนั่งบ้าง เดินบ้าง ขึ้นบันได คนทั่วไปจึงต้องการพลังงานวันละประมาณ 2,000 กิโลแคลอรี

ถ้ากินอาหารเกินความต้องการ ร่างกายจะสะสมไว้เป็นไขมัน กินอาหารที่ให้พลังงานเกินกว่าที่ร่างกายใช้ไปวันละเล็กวันละน้อย น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นทีละน้อย พลังงานที่เกินไป 7,700 กิโลแคลอรี จะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น 1 กิโลกรัม หรือกินน้อยเกินกว่าที่ใช้ไป 7,700 กิโลแคลอรี น้ำหนักตัวจะลดลง 1 กิโลกรัม
       ถ้ากินอาหารมื้อละ 400 กิโลแคลอรี วันละสามมื้อ จะได้รับพลังงานวันละ 1,200 กิโลแคลอรี อาจกินผลไม้และดื่มนมขาดมันเนย เพิ่มพลังงานอีกหนึ่งร้อยแคลอรี รวมเป็นพลังงานจากอาหารวันละ 1,300 กิโลแคลอรี น้อยกว่าอาหารปกติวันละ 700 กิโลแคลอรี เป็นอาหารลดน้ำหนัก ถ้าอาหารนี้มีทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ เป็นอาหารสมดุล ควรจะลดน้ำหนักได้หนึ่งกิโลกรัมในเวลา 11 วัน นับเป็นการลดน้ำหนักที่ดี ไม่เร็วจนเกินไป
     คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักตัว สามารถควบคุมตนเอง ไม่ต้องกินอาหารพิเศษ ไม่ต้องให้ใครช่วยดูแล เพียงกินอาหารลดไขมันและน้ำตาล สามารถลดน้ำหนักตัวได้ 3 กิโลกรัม ในเวลาหนึ่งเดือน สารอาหารที่ให้พลังงาน คือไขมัน คาร์โบไฮเดรต และโปรตีน ไขมัน 1 กรัม ให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตและโปรตีน 1 กรัม ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี ที่ทำให้คนส่วนมากอ้วน คือไขมัน เพราะไขมันให้พลังงานสูง และเมื่ออยู่ในอาหารเป็นไขมันล้วนๆ ส่วนคาร์โบไฮเดรตและโปรตีนมักจะมีน้ำผสมอยู่ด้วย เช่น เวลาหุงข้าว เราต้องใส่น้ำลงไปมากกว่าข้าว กินข้าวจึงได้ทั้งแป้งและน้ำพร้อมๆกัน
     คนที่ต้องการควบคุมน้ำหนักตัว ต้องติดตามแคลอรี่อย่างใกล้ชิด น้ำหนักตัวจะเพิ่มหรือลด ขึ้นอยู่กับพลังงานที่ได้รับและพลังงานที่ใช้ไป ถ้าอยากกินมาก ต้องใช้แรงมาก วิธีตรวจสอบง่ายๆว่ากินอาหารพอดีหรือไม่ คือกินอาหารตามปกติทุกวัน และทำกิจกรรมตามปกติเป็นระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ถ้าน้ำหนักตัวคงที่ แปลว่าเท่าที่กินนั้นพอดีสำหรับน้ำหนักตัว ถ้าน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น แปลว่ากินอาหารให้พลังงานมากเกินไป ถ้าน้ำหนักตัวลดลง แปลว่าพลังงานจากอาหารน้อยกว่าที่ร่างกายต้องการ
     การปรับอาหารเพื่อเพิ่มหรือลดแคลอรี ทำง่ายที่สุดโดยเพิ่มหรือลดเครื่องดื่มที่ให้พลังงานน้ำอัดลมหนึ่งถ้วย ประมาณ 250 มิลลิลิตร ให้พลังงานประมาณ 100 กิโลแคลอรี พลังงานทั้งหมดมาจากน้ำตาล วันหนึ่งลดเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลมแก้วเดียว เปลี่ยนเป็นน้ำเปล่า จะลดพลังงานจากอาหารได้ 100 กิโลแคลอรี เจ็ดสิบเจ็ดวัน ประมาณสองเดือนครึ่งจะลดน้ำหนักได้หนึ่งกิโลกรัม ลดช้าๆแต่แน่นอน ไม่เกิดอันตรายต่อร่างกาย ไม่ทำให้หิวโหยจนทนไม่ได้ สุขภาพจะดีขึ้น
     แม้แต่เปลี่ยนน้ำหวานเป็นนมขาดมันเนย จะได้รับแคลเซียมและโปรตีนเพิ่มขึ้น โดยที่พลังงานน้อยลง ถ้าอ่านฉลากข้างกล่องนม จะเห็นชัดว่านมพร่องมันเนยให้พลังงานน้อยกว่านมเต็มรูปเกือบครึ่ง ไขมันที่พร่องไปเป็นไขมันที่เป็นอันตรายต่อหัวใจ การดื่มนมพร่องมันเนยหรือขาดมันเนย จึงดีต่อสุขภาพ
     เมื่อเลือกซื้ออาหาร สิ่งแรกที่เราต้องการคือความอร่อย ถึงจะมีประโยชน์มาก แต่ถ้าไม่อร่อย คงไม่มีคนซื้อ หลายคนยอมกินยาแทนที่จะเลือกอาหารมีประโยชน์ เพราะกลืนยาเม็ดนิดเดียว ง่ายกว่ากินอาหารไม่อร่อยทั้งมื้อ ตราบใดที่สังคมยังเห็นว่ารูปร่างดีคือผอม เราต่างพยายามผอมโดยมีสุขภาพดี นอกจากความอร่อย เรายังต้องการอาหารที่สะอาด มีประโยชน์ ให้สารอาหารต่างๆมากโดยที่ไม่มีน้ำตาลและไขมันมากเกินไป
     การมีสุขภาพดีจากอาหาร ควรจะได้อาหารมื้อละประมาณ 600 กิโลแคลอรี ควรจะเป็นคาร์โบไฮเดรต 300 กิโลแคลอรี คิดเป็นน้ำหนักได้ 75 กรัม ควรจะเป็นโปรตีน 90 กิโลแคลอรี คิดเป็นน้ำหนักได้ 22 กรัม ควรจะเป็นไขมัน 210 กิโลแคลอรี คิดเป็นน้ำหนักได้ไขมันหรือน้ำมัน 23 กรัม นั่นคือได้รับครึ่งหนึ่งของอาหารเป็นคาร์โบไฮเดรต โปรตีนร้อยละ 10 ถึง 15 ไขมันร้อยละ 35
     ฉลากอาหารมักจะมีข้อมูลทางโภชนาการ บอกทั้งปริมาณและร้อยละของปริมาณที่ควรได้รับในหนึ่งวัน สำหรับอาหารทั้งมื้อ ควรไม่เกิน 600
กิโลแคลอรี เผื่อเหลือให้เลือกผลไม้เพิ่มเป็นขนม ดื่มนมเป็นเครื่องดื่ม นอกจากกินดีแล้ว ยังต้องออกกำลังกายด้วย จึงจะมีรูปร่างดีและแข็งแรง


นมวัว กับ นมถั่วเหลือง

นมวัว กับ นมถั่วเหลือง

     "ที่เขาว่านมถั่วเหลืองดีอย่างโน้นอย่างนี้ แถมราคาก็ถูกกว่านมวัว แล้วอย่างนี้เราจะหันมาดื่มนมถั่วเหลืองแทนนมวัวซะเลยจะดีไหม" คำถามนี้เคยเกิดขึ้นในใจ คุณบ้างรึเปล่า? วันนี้เราจะมาไขข้อสงสัยที่ว่านี้กันให้ชัดๆ เลย
ในเรื่องของโปรตีน ถ้าทำน้ำถั่วเหลืองจากสูตร ถั่วเหลือง 1 ส่วนต่อน้ำ 8 ส่วน จะได้โปรตีนใกล้เคียงกับนมวัว คือ ดื่มนมถั่วเหลือง 1 แก้ว (200 มิลลิลิตร) จะ ได้โปรตีน ประมาณ 6 กรัม (นมวัว 1 แก้ว จะได้โปรตีนประมาณ 7 กรัม) แต่ คุณภาพ โปรตีนในนมวัวมีความสมบูรณ์ ของกรดอะมิโนที่เป็นส่วนประกอบของโปรตีนดีกว่า โปรตีนจากถั่วเหลือง ที่มาจากพืช แต่คุณภาพของโปตีนในนมถั่วเหลือง ก็สามารถ เสริมให้ดีขึ้นได้ ด้วยการ เติมเครื่องต่างๆ อย่างที่นิยมกัน เช่น ลูกเดือย สาคู ถั่วแดง ลงไป ได้ทั้งความอร่อยแถมคุณค่าของโปรตีนสมบูรณ์ขึ้น
     พลังงานที่ได้จากนมวัวจะมีไขมันมากกว่านมถั่วเหลืองถึง 2 เท่า คือนม วัว 1 แก้วจะให้พลังงาน ประมาณ 170 แคลอรี่ ส่วนนมถั่วเหลืองจะให้เพียง 80 ให้นมบุตร เพื่อจะได้แคลเซียมอย่างเพียงพอกับความ ต้องการของร่แคลอรี่ เท่านั้น แต่คนที่ดื่มนมถั่วเหลืองเติมน้ำตาลมาก จนมีรสหวานกว่านมสดรสหวาน ก็จะ ได้พลังงานทั้งหมดพอๆ กัน แม้ว่านมถั่วเหลืองจะให้แคลเซียม ที่น้อยกว่านมวัว แต่ให้ธาตุเหล็กและวิตามินบีหนึ่งที่มากกว่า     เราดื่มนมถั่วเหลืองทดแทนนมวัวไม่ได้ เพราะจะมีแคลเซียมน้อยกว่านมวัวอยู่มาก แต่หากมีการเสริมแคลเซียมลงในนมถั่วเหลือง ก็เท่ากับว่าเสริมคุณค่าทางโภชนาการ ให้สมบูรณ์มากขึ้น สำหรับผู้ที่ต้องการดื่มนมถั่วเหลืองเป็นอาหารเสริมก็ควรดื่ม วันละ 1-2 แก้ว หากเป็นนมถั่วเหลืองธรรมดาที่ไม่ได้มีการเสริมแคลเซียม ขอแนะนำ ให้ดื่มนมวัวบ้างประมาณวันละ 1-2 แก้ว สำหรับผู้ใหญ่ หรือ 2-3 แก้วสำหรับเด็ก เช่นเดียวกับหญิงมีครรภ์หรือางกายในสภาวะนั้นๆ


กินเผ็ดละลายลิ่มเลือด


กินเผ็ดละลายลิ่มเลือด
      ผลวิจัยล่าสุดพบว่า การทานอาหารที่มีส่วนผสมของสมุนไพรรสเผ็ด จะช่วยลดการเกาะตัวของเกร็ดเลือด และการจับตัวเป็นลิ่มเลือดมากกว่าแอสไพรินถึง 29 เท่า โดยปราศจากผลข้างเคียงใดๆ  
      ไม่นานมานี้ นักวิทยาศาสตร์จากอินเดียได้ทำการทดลองเพื่อประเมินผลทางสุขภาพว่า สมุนไพรรสเผ็ดๆ ที่เราชอบทานกันนั้น มีประโยชน์อะไรอีกบ้างหนอ เพราะสมุนไพรเหล่านี้มักเป็นส่วนผสมในอาหารชาวอินเดียทั้งหลาย (รวมทั้งอาหารในเอเชียเราทั่วไปด้วย) โดยทีมงานหลักก็คือ The Central Food Technological Research Institute ที่เอาสารสกัดในสมุนไพรอย่าง ขมิ้นชัน, น้ำมันจากกานพลู, อบเชย, พริกแดง, พริกไทยดำ ฯลฯ มาทดลองกับร่างกายมนุษย์ ว่าแต่ละตัวทำงานกับระบบเลือดอย่างไร แล้วจึงพบว่าสามารถละลายลิ่มเลือดและลดการจับตัวเป็นก้อนได้
      การทดลองนี้ถูกนำไปเปรียบเทียบกับแอสไพรินที่เรามักทานเพื่อลดปวด และนำไปทานร่วมกับยาบางชนิดเพื่อละลายลิ่มเลือด โดยที่เป้นอันตรายอย่างแน่นอน หากเราทานอย่างต่อเนื่องและสะสม ในขณะที่การทานเผ็ดจากสมุนไพรรสจัดจ้านที่ กล่าวข้างต้นนั้น ก็ให้ผลลัพธ์เดียวกัน แต่น่าทึ่งตรงที่ว่า หากได้รับในปริมาณที่เท่ากัน กลับให้ประสิทธิภาพที่มากกว่าถึง 29 เท่าทีเดียว
      เอาเป็นว่าเราโชคดีมากทีเดียว ที่มีพืชสมุนไพรดีๆ ให้เลือกทานตลอดปี และยังเสริมสร้างสุขภาพเราได้อย่างไม่รู้ตัว เพียงแค่เรารู้จักเลือกอาหารที่มีสมุนไพรเหล่านี้เป็นส่วนผสมทานในแต่วัน และเสริมคุณภาพด้วยการออกกำลังกายประกอบกันด้วย นี่ล่ะธรรมชาติบำบัดที่เรียบง่ายและได้ผลกว่าสารเคมีตั้งหลาย


มาสกัดกั้นไขมันส่วนเกินกันดีกว่า


มาสกัดกั้นไขมันส่วนเกินกันดีกว่า
     หยุดเทศกาลยาว เที่ยวสนุก กินอร่อย เวลานี้ก็เป็นเวลาที่สาว ๆ คงต้องมาสำรวจรูปร่างว่า มีไขมันส่วนเกินที่ไม่ปรารถนาหรือเปล่า          
     นายแพทย์ไพศาล รัมณีย์ธร แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการสลายไขมัน ปิ่นเกล้าคลินิก และไอแคร์คลินิก กล่าวว่า ไขมันมีความสำคัญต่อร่างกายในการเผาผลาญเพื่อให้พลังงาน ให้ความอบอุ่น และเป็นเสมือนเบาะลดอาการบาดเจ็บจากแรงกระแทก ซึ่งการรักษาระดับไขมันในร่างกายให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวจึงเป็นสิ่งสำคัญ แต่หากร่างกายสะสมไขมันไว้มากก็จะเกิดเป็นภาวะโรคอ้วน
          ทั้งนี้ สาเหตุประการหนึ่งของโรคอ้วนมาจากเมื่ออายุมากขึ้น กล้ามเนื้อส่วนต่าง ๆ ของร่างกายจะหยุดการพัฒนา การเผาผลาญพลังงานลดลงร้อยละ 10 ยิ่งในช่วงวัยทำงานด้วยแล้ว มักพบปัญหาเรื่องน้ำหนักตัว และมีไขมันส่วนเกินได้ง่ายมาก เพราะต้องนั่งทำงานทั้งวัน เกิดความไม่สมดุลของพลังงาน ซึ่งไขมันส่วนเกินเหล่านี้กลายเป็นปัญหาสำคัญของคนเมือง 
          ดังนั้นจึงควรหมั่นควบคุมคุณภาพของอาหาร เช่น หากมื้อไหนที่อยากจะทานเนื้อสัตว์ก็ให้ทานผักร่วมด้วย ในการทานอาหารแต่ละครั้งควรเคี้ยวให้ละเอียด ช้าๆ เพราะจากการวิจัยพบว่า ผู้ที่เคี้ยวอาหารช้าจะมีรูปร่างบางกว่าผู้ที่เคี้ยวอาหารเร็ว และดื่มน้ำเปล่าแก้วใหญ่ ก่อนรับประทานอาหารทุกครั้ง หลีกเลี่ยงอาหารจำพวกแป้ง น้ำตาล ของมันของทอด ผลไม้รสหวาน แต่ไม่จำเป็นต้องอด โดยควบคู่ไปกับการออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ เช่น แอโรบิก วิ่งเหยาะ ๆ ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ เป็นต้น
          นายแพทย์ไพศาล กล่าวต่ออีกว่า วิธีง่าย ๆ ในการเช็กระดับไขมันส่วนเกินคือ การสังเกตด้วยสายตาและการสัมผัสผิว โดยการจับหรือบีบในจุดต่าง ๆ จะเป็นชั้น หรือห้อยย้อยผิดส่วนไม่เพียงเฉพาะคนตุ้ยนุ้ยเท่านั้น คนที่มีน้ำหนักตัวปกติก็อาจพบปัญหาไขมันส่วนเกินเฉพาะที่ได้เช่นกัน 
          แต่สำหรับผู้ที่มีไขมันส่วนเกินสะสมมาก ไม่สามารถจะลดลงได้โดยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย จำเป็นต้องใช้นวัตกรรมทางการแพทย์เข้าช่วยในการดูดไขมันส่วนเกิน ซึ่งในปัจจุบันวิวัฒนาการเครื่องมือสลายไขมันรุดหน้าไปมาก ได้รับการยอมรับและขึ้นทะเบียนรับรองจากอเมริกา ยุโรป และในประเทศไทย ว่ามีความปลอดภัยสูง เห็นผลภายใน 1
เดือน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นจะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางอย่างใกล้ชิดเท่านั้น